'น่านนที' ชื่อของเด็กหนุ่มบ้านนอกที่ต้องระเห็จสู่เมืองกรุงเพื่อทำหน้าที่ตามพินัยกรรมของท่านชาย ทว่าก้าวแรกที่ก้าวเท้าเข้ามาที่วังแห่งนี้ เสมือนว่าความวินาศสันตะโรจะบังเกิด!
ชาย-ชาย,รัก,ไทย,ย้อนยุค,วาย,พีเรียดไทย,นิยายวาย,#BL,plotteller, ploteller, plotteler,พล็อตเทลเลอร์, แอพแพนด้าแดง, แพนด้าแดง, พล็อตเทลเลอร์, รี้ดอะไร้ต์,รีดอะไรท์,รี้ดอะไรท์,รี้ดอะไร, tunwalai , ธัญวลัย, dek-d, เด็กดี, นิยายเด็กดี ,นิยายออนไลน์,อ่านนิยาย,นิยาย,อ่านนิยายออนไลน์,นักเขียน,นักอ่าน,งานเขียน,บทความ,เรื่องสั้น,ฟิค,แต่งฟิค,แต่งนิยาย
'น่านนที' ชื่อของเด็กหนุ่มบ้านนอกที่ต้องระเห็จสู่เมืองกรุงเพื่อทำหน้าที่ตามพินัยกรรมของท่านชาย ทว่าก้าวแรกที่ก้าวเท้าเข้ามาที่วังแห่งนี้ เสมือนว่าความวินาศสันตะโรจะบังเกิด!
ผู้แต่ง
ปรมปุณณ
เรื่องย่อ
❝รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ❞
(สำนวนสุภาษิต) มีความหมายว่า รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความอาฆาตแค้นออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้อาฆาตพยาบาทเข้าไว้.
รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น
รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย
มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย
แหงนดูฟ้าอย่าให้อายเทวดา
(อิศรญาณภาษิต)
............................
ที่ผ่านมาชีวิตของ 'น่านนที' ดำเนินมาอย่างสงบสุขที่ชนบทในฐานะเด็กบ้านนอกธรรมดาคนหนึ่ง แต่แล้วชีวิตปรกติสุขของเขาถึงเวลาต้องเปลี่ยนไป เมื่อได้รับจดหมายเชิญตัวเข้าไปอยู่ในรั้วในวัง จากเด็กหนุ่มบ้านนอกกลายเป็นสะใภ้เจ้าตามเงื่อนไงบนพินัยกรรมของหม่อมเจ้าประพัทธ์ ใครจะคิดว่าชีวิตของเขาที่นั้นจะได้รับการต้อนรับไม่ต่างไปยิ่งกว่าทาส ทุกคนเฝ้าแต่จะดูหมิ่นถิ่นแคลนโขลกสับ โดยเฉพาะพ่อหม่อมราชวงศ์คู่หมาย งานนี้น่านนทีจะต้องรับมืออย่างไรให้ไหว!
"น่านนที ไอ้บ้านนอก ถ้านายคิดจะอยู่ที่วังนี้เพื่อหวังฮุบสมบัติของท่านพ่อแล้วล่ะก็ ฉันบอกให้เลยว่าอย่าหวัง นายจะไม่ได้สักแดงเดียว ไสหัวไปจากที่นี่ซะ"
"ขอบคุณที่เรียนให้ทราบนะครับ แต่ไม่ดีกว่า ผมไม่ต้องทำอะไรเลยด้วยซ้ำ เพราะยังไงสมบัติทั้งหมดก็จะตกเป็นของผมเอง ถ้าคุณชายทำตามเงื่อนไขไม่ได้"
"นี่นาย! ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไปเถอะ จ้างให้ฉันก็ไม่มีวันหลงผิดไปรักเด็กกระจอก ๆ อย่างนาย!"
"อืม ครับ ผมก็เช่นกัน"
"ฉันจะฟ้องหม่อมแม่!"
⚠️ นิยายเรื่องนี้สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามคัดลอก ทำการดัดแปลงหรือนำส่วนหนึ่ง ส่วนใดของนิยายไปเผยแพร่ต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าของผลงาน การกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาตถือ เป็นการละเมิดสิทธิ์จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
เช้าตรู่ในวันถัดมา หลังจากที่ถวายภัตราหารเช้าที่วัดเสร็จแล้ว ชาวบ้านหญิงชายที่ดูหนาตาก็เริ่มเคลื่อนย้ายกันกลับ คงเหลือแต่น่านนทีและคำปันที่อาสาช่วยกวาดลานวัดระหว่างที่รอหลวงปู่
พวกเขาเปรียบเสมือนเด็กวัด ทว่าพอโตมาจนอายุย่างเลขสอง ก็ขอหลวงปู่ออกไปอยู่ข้างนอก เหตุเพราะไม่อยากให้ใครต่อใครครหาว่าอยู่กินกับวัดมาตั้งแต่เด็กจนโต ไม่ยอมไปไหน อีกอย่างหนึ่ง น่านนทีตั้งใจว่าจะเข้าเมืองไปหางานทำช่วงปลายปีนี้ แม้ไม่มีวุฒิการศึกษาสูง ๆ ต่อให้เป็นงานใช้แรงหนัก แลกเงินเดือนไม่กี่ร้อยบาท เขาก็ยอม
“อ้ายน่าน หลวงปู่เปิ้นหื้อมาตวยอ้ายไปหาตี้กุฏิ” เสียงเด็กวัดคนหนึ่งที่เดินตั้งหน้ามาแจ้งแก่น่านนที จากนั้นจึงรับเอาไม้กวาดและทำความสะอาดลานวัดต่อจากเขา
ทั้งน่านนทีและคำปันเข้าไปถึงยังกุฏิของหลวงปู่ ท่านใส่เพียงสบงสบาย ๆ ให้คลายร้อน ต่างจากตอนที่ญาติโยมมาทำบุญที่วัด หากคาดเดาจากความชราภาพของท่านแล้ว อายุน่าจะประมาณเจ็ดสิบกว่าเห็นจะได้ น่านนทีและเพื่อนอาศัยใบบุญของท่านมานาน จนเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานของท่าน แม้พวกเขาจะย้ายออกไปอยู่ข้างนอกแล้ว หากแต่จะมาเยี่ยมเยือนท่านอยู่บ่อย ๆ
“นมัสการครับหลวงปู่ หมู่ผมกึดเติงหาหลวงปู่ขนาด เจ้านี้ยะแกงมาถวายตวย หลวงปู่ได้ฉันก่อครับ” คำปันเป็นผู้เริ่มกล่าว หลังจากก้มกราบเสร็จ
“เฮากิ๋นแล้ว เป๋นพระเป๋นเจ้า มีหยังก่อกิ๋นไปเต๊อะ เลือกบ่ได้” พระเถระประจำวัดในชุมชนพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนปนความแหบพร่าตามวัยของท่าน ก่อนจะถามไถ่ว่า “แล้วสูเป๋นอย่างใด สบายดีก่อ หันว่าจะไปยะก๋านในเมืองแล้วบ่ใจ้ก๋า”
“ครับหลวงปู่ ป๋ายปีนี่ก่อจะลองไปหาผ่อก่อนครับ หมู่ผมบ่ได้เฮียนจบสูง ได้งานอะหยังก็ต้องยะไปก่อนน่ะครับ” น่านนทีตอบ น้ำเสียงและแววตาของเขาบ่งบอกชัดเจนถึงความมุ่งมั่น ทำให้หลวงปู่ยิ้มอย่างภูมิใจ
“ดีแล้วเลาะ อายุเต้าอี้แล้ว บ่ฮู้ยะก๋าน จาวบ้านเปิ้นจะเล่าขวัญเอาได้”
“ไผจะว่าอะหยังก็จ้างหัวเปิ้นเต๊อะครับหลวงปู่ คงห้ามปากคนบ่ได้” เด็กหนุ่มกล่าวอย่างที่ใจคิด ฟังดูอาจเหมือนเขาเป็นคนหัวแข็ง ไม่ค่อยสนใจความคิดของใครสักเท่าไหร่ แต่พอหลวงปู่ส่งสายตาเชิงดุให้ เขาก็ยอมอ่อนลง “ก็ผมกึดจะอี้แต้ ๆ กะครับหลวงปู่”
“บ่ดีอู้จะอี้ ตั๋วต้องเตรียมตั๋วได้ละหนา ตั้งสองคน ต่อแต่นี่กู่อย่างจะเปลี่ยนไป ต้องไปอยู่ในตี้ใหม่ สังคมใหม่ จะอู้จะจาต้องระวังตวย”
“หลวงปู่หมายความว่าอย่างใดครับ หมู่ผมไปยะก๋านบ่ไกลนัก มีแต่คนบ้านเฮา คงบ่ต้องปรับตั๋วอะหยังนัก” ฝ่ายคำปันนึกสงสัย จึงเอ่ยถามขึ้น คนอย่างพวกเขาไม่มีสังคมหรู ๆ ที่ไหนให้ปรับตัวไปมากกว่านี้อีกแล้ว นอกจากที่วัดในชนบทนี้
“อีกบ่เมิน สูเขาจะได้ไปอยู่ตี้อื่น จะมีคนมาฮับ ตามคำสัญญาที่เปิ้นหื้อไว้” ถ้อยคำของหลวงปู่แฝงด้วยความสนเท่ห์ ทำให้สองสหายทำหน้างุนงงเข้าไปกันใหญ่
“อย่างใดครับ?”
“ตึ๋งวันละจะฮู้เอง มา เฮาจะฮดน้ำมนต์หื้อ” ท่านตัดบทความสงสัย เอื้อมหยิบขันน้ำมนต์มาประพรมให้แก่หลานชายทั้งสองที่เลี้ยงดูมาอย่างนึกเอ็นดู มาวันนี้โตเป็นหนุ่มพอที่จะรู้จักโลกกว้างได้แล้ว
เมื่อหลายสิบปีก่อน ท่านเคยได้รับคำสัญญาจากใครคนหนึ่งไว้อย่างไรไม่รู้ หลวงปู่ท่านเล่าให้น่านนทีฟังเพียงว่า ก่อนที่แม่ของเจ้าตัวจะสิ้นบุญจากไปนั้น เธอได้ถวายทารกคนนี้ให้แก่หลวงปู่อุปถัมภ์ พร้อมทิ้งสร้อยทองไว้ให้หนึ่งเส้น เธอบอกว่าเมื่อน่านนทีมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์เมื่อไหร่ จะมีคนใจบุญสุนทานมารับไปศึกษาต่อที่พระนคร ที่นั่นน่านนทีจะอยู่อย่างสุขสบาย และเพียบพร้อมด้วยทุกสิ่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หลวงปู่ท่านก็เฝ้าคอยแต่วันนั้น วันที่จะได้เห็นเด็กชายคนนี้เจริญเติบโตอย่างที่แม่ของเขาเคยกล่าวไว้
ณ ตำหนักใหญ่ ที่วังประภากรอมรนิวาสราชบดินทรางกูรราชวรมหาพิมานสถานภิรมย์
“ทำอะไรคะหม่อมแม่” เสียงหวานใสจากหม่อมราชวงศ์หญิงโฉมสมรเสาวภาวิลาวัลย์ หรือที่คนในวังมักเรียกเธอว่า ‘คุณหญิงโฉม’ ดังมาจากด้านหลังอย่างไม่มีสุ้มมีเสียงมาก่อน ทำเอาหม่อมแม่ตกใจ
“นี่! หญิงโฉม มาอะไรเงียบ ๆ นึกว่าแม่จำปา แม่กำลังเขียนจดหมายถึงพี่ชายของหญิงอยู่น่ะสิจ๊ะ”
“โอ๊ย อย่าบอกนะคะหม่อมแม่ ว่าเขียนไปรบเร้าพี่ชายเมศวร์ให้รีบกลับไทยน่ะค่ะ นี่ หม่อมแม่คะ ดูท่าจะรีบร้อนเชียวนะคะ เรื่องพินัยกรรมของท่านพ่อนี่” คุณหญิงโฉมแสดงใบหน้าและน้ำเสียงเหมือนรู้ทันความคิดของมารดา
“แหม หญิงจ๋า ขืนช้าจะไปทันกินอะไรล่ะ ไม่รู้แหละ แม่ต้องรีบเรียกชายเมศวร์กลับมาด่วน” หม่อมจำปีพูดพลางรีบยัดจดหมายลงซอง ปิดผนึกอย่างดี ก่อนจะยื่นให้นางคนสนิท “อะสมร เอาไปจัดการส่งให้ฉันตามที่อยู่นี้เหมือนที่เคยทำนะจ๊ะ”
“ได้ค่ะหม่อมท่าน”
ขณะที่นางคนสนิทกำลังรับซองจดหมายมานั้น เสียงของหม่อมอีกคนก็ดังขึ้น เป็นหม่อมจำปานั่นเอง เธอมีศักดิ์เป็นน้องสาวแท้ ๆ ของหม่อมจำปี และเป็นภรรยาเจ้าเช่นเดียวกับพี่สาว
โดยที่ท่านชายประพัทธ์ เจ้าของวังนั้นมีหม่อมด้วยกันถึงสองคน ซึ่งเป็นพี่สาวน้องสาวพ่อแม่เดียวกันแท้ ๆ โดยคนในวังมักจะแทนชื่อของหม่อมจำปีว่า ‘หม่อมใหญ่’ และเรียกหม่อมผู้น้องว่า ‘หม่อมน้อย’ นั่นเอง
“จดหมายอะไรหรือคะคุณพี่ ขอน้องอ่านบ้าง”
ผู้เป็นพี่สาวรีบปฏิเสธทันควัน “ไม่มีอะไรจ้ะแม่จำปา จดหมายคนกู้หนี้ยืมสินทั่ว ๆ ไปน่ะ มีมาทุกวันจนเบื่อ”
หล่อนโกหกเต็มคำ แม้จะเป็นพี่เป็นน้องท้องเดียวกัน แต่เรื่องมรดกทรัพย์สินสำหรับหล่อนจำเป็นต้องเห็นแก่ตัวไว้ก่อนเสมอ
“หรือคะคุณพี่” น้องสาวเอ่ยอย่างไม่แสดงทีท่าว่าเคลือบแคลงใจ แต่ก็รู้ทันอยู่ในที เลยทำเป็นพูดหยั่งเชิง “นี่ชายเมศวร์ไม่กลับมาเสียทีนะคะ ไม่อย่างนั้นคงได้เปิดพินัยกรรมของท่านพัทธ์เร็วขึ้น”
หม่อมจำปีตาโตเมื่อได้ยินเช่นนั้น แสดงว่าหล่อนไม่ได้ทราบเรื่องนี้คนเดียว คุณถนอมศักดิ์ต้องได้บอกกับน้องสาวของหล่อนแล้วเป็นแน่แท้ “รู้ด้วยหรือจ๊ะ”
“น้องก็หม่อมของท่านพัทธ์คนหนึ่งนี่คะ ทนายของท่านก็แจ้งให้ทราบอยู่”
“ก็ดี ไว้เดี๋ยวรอชายเมศวร์กลับมาถึงเมื่อไหร่ ฉันจะเรียกคุณถนอมศักดิ์มาเปิดพินัยกรรมในทันที” พอพูดจบ หม่อมใหญ่ก็แอบบ่นในใจ ระหว่างที่ใบหน้าของหล่อนยิ้มแย้มแสร้งความเป็นมิตร ‘หึ คิดจะมาแก่งแย่งสมบัติแข่งกับฉันหรือยะแม่คุณ ฝันไปเถอะย่ะ'