รวมเรื่องสั้นสยองขวัญ ถวิลหาอดีต คิดถึงปัจจุบัน หลอนไปในอนาคต เพราะความตายมิใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสยองขวัญ

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) - เรื่องที่ 1 ไปสวดศพ(ตอนแรก) โดย ท่าเพชร @Plotteller | พล็อตเทลเลอร์

ลึกลับ,เรื่องสั้น,ระทึกขวัญ,ดราม่า,ย้อนยุค,ผึ,สยองขวัญ,ผี,ดราม่า,ลึกลับ,ย้อนยุค,ชนบท,วัด,เรื่องเล่า,plotteller, ploteller, plotteler,พล็อตเทลเลอร์, แอพแพนด้าแดง, แพนด้าแดง, พล็อตเทลเลอร์, รี้ดอะไร้ต์,รีดอะไรท์,รี้ดอะไรท์,รี้ดอะไร, tunwalai , ธัญวลัย, dek-d, เด็กดี, นิยายเด็กดี ,นิยายออนไลน์,อ่านนิยาย,นิยาย,อ่านนิยายออนไลน์,นักเขียน,นักอ่าน,งานเขียน,บทความ,เรื่องสั้น,ฟิค,แต่งฟิค,แต่งนิยาย

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club)

หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง

ลึกลับ,เรื่องสั้น,ระทึกขวัญ,ดราม่า,ย้อนยุค

แท็คที่เกี่ยวข้อง

ผึ,สยองขวัญ,ผี,ดราม่า,ลึกลับ,ย้อนยุค,ชนบท,วัด,เรื่องเล่า

รายละเอียด

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club)  โดย ท่าเพชร @Plotteller | พล็อตเทลเลอร์

รวมเรื่องสั้นสยองขวัญ ถวิลหาอดีต คิดถึงปัจจุบัน หลอนไปในอนาคต เพราะความตายมิใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสยองขวัญ

ผู้แต่ง

ท่าเพชร

เรื่องย่อ

ผีมีจริงหรือไม่?

          คนเราตายแล้วไปไหน?

            สโมสรหลังเมรุ(Cemetery Club) มีจุดกำเนิดจากการได้รับแรงบันดาลใจจากได้ฟังเรื่องผี เรื่องวิญญาณ ทว่าจุดเริ่มต้นที่แท้จริงเกิดจากพระภิกษุกลุ่มหนึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องเร้นลับทั้งประสบพบเจอเอง ได้ยินได้ฟังมาในระหว่างรอสวดมาติกาบังสุกุลศพในช่วงบ่ายและระหว่างรอสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ในงานพิธีศพ บางคนอาจจะมองว่าการฟัง การอ่าน การชมเรื่องผีเป็นเพียงแค่ความบันเทิงเท่านั้น สำหรับผมเรื่องผีเป็นเรื่องที่มีเสน่ห์ชวนน่าหลงใหล มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เราอยากจะรู้ว่าประเทศนั้นประเทศนี้มีความเชื่อค่านิยม วัฒนธรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ตัวตนของประเทศนั้นๆ ผ่านการศึกษาเรื่องผี ผ่านคติความเชื่อในโลกหลังความตายได้ เรื่องผีบางเรื่องมีคติสอนใจซ่อนอยู่ มนุษย์ที่ตายไปแล้วไปสู่ภพภูมิที่ตนเองควรไป ยังวนเวียนอยู่กับมนุษย์เพราะความต้องการของเขา เธอทั้งหลายยังไม่บรรลุ ไม่ว่าจะเป็นการทวงความยุติธรรมให้แก่ตน การสั่งเสียอำลาคนที่เรารัก การใช้ตนเองเป็นธรรมทาน หรือแม้กระทั่งเป็นประจักษ์พยานในการแสดงผลของการทำความดีและผลของการทำชั่ว เรื่องผีบางเรื่องสะท้อนสภาพสังคมในแต่ละยุคอย่างเรื่อง นางนวล สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นสามัญชนคนธรรมดา แม้จะมีการเลิกทาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ผู้คนมากมายก็ยังคงตกเป็นทาสของอำนาจเงิน อย่าง ซ่องเจ๊เนาและซุ้มยาดองยายนี สะท้อนสภาพบ้านเมืองของอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 

สารบัญ

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 1 ไปสวดศพ(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 1 ไปสวดศพ(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 2 วิวาห์ผี,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 3 วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 3 วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 4 หอปรารถนาดี,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 5 โรงเรียนสยองขวัญ,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 6 ซ่องเจ๊เนา(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 6 ซ่องเจ๊เนา(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนที่ 1),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนที่ 2),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนที่ 3),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 8 ไปหาดใหญ่คราวนั้นฉันยังจดจำ,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 9 โค้งเขาท่าเพชร,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 10 อย่านึกถึงฉัน,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 11 รวมเรื่องเล่าในโรงพยาบาล,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนที่ 1),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนที่ 2),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนที่ 3),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนที่ 2),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนที่ 3)

เนื้อหา

เรื่องที่ 1 ไปสวดศพ(ตอนแรก)

เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่ผ่านการบันทึกจากพระอธิการอินทร์ อินทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านใต้ ท่านได้เล่าถึงประสบการณ์ออกกิจนิมนต์ครั้งแรกๆ เมื่อตอนยังเป็นพระนวกะ [1] อยู่

“ท่านอินทร์” พระพิบูลย์-พระพี่เลี้ยงเรียกอาตมาในระหว่างฉันเพลในโรงฉัน

“ขอรับท่าน”

“หลังจากฉันเพลเสร็จ ท่านเก็บจีวรและของใช้จำเป็นใส่ย่ามนะ ตอนเที่ยง คนจากบ้านเหนือจะมารับพระไปสวดศพตอนเที่ยง เจอกันที่ศาลาการเปรียญ” พระพิบูลย์สั่ง

ตอนเที่ยง พระพิบูลย์และพระสงฆ์อีก 6 รูป หากรวมอาตมาด้วยเป็น 8 รูปรอคนจากบ้านเหนือขับเกวียนมารับในอิริยาบถต่างๆ อาทินั่ง ยืน เดิน และพูดคุยสนทนาสัพเพเหระ ไม่นานเท่าไหร่มีรถเทียมเกวียนขับเคลื่อนด้วยแรงโค 2 ตัว แล่นเข้ามาจอดเทียบโดยไร้ฝุ่นตลบให้รำคาญใจ

“นิมนต์พระคุณเจ้าขึ้นเกวียนเลยครับ” ทิดสน ชายวัยกลางคนมีผมหงอกแซมผมสีดำที่ตัดอย่างเป็นระเบียบกล่าวนิมนต์เชิญพระสงฆ์ทั้ง 8 รูปขึ้นเกวียน พระส่วนใหญ่ขึ้นเกวียนอย่างคล่องแคล่ว คงจะมีเพียงอาตมาที่ขึ้นเกวียนอย่างเก้ๆ กังๆ ด้วยเพราะไม่เคยขึ้นและต้องมาระวังสบงจีวรไม่ให้รุ่มร่ามจนเป็นที่น่าอับอาย พระพิบูลย์ยื่นมือมาช่วยรับอาตมาขึ้น พระสงฆ์บางรูปยิ้มมุมปากคงสงสารปนขำขัน เมื่อพระสงฆ์ขึ้นมาครบและนั่งอย่างเรียบร้อยสำรวมแล้ว ทิดสนลงแส้เฆี่ยนวัวให้วัววิ่งไป อาตมามองสำรวจรอบๆ บนรถเทียมเกวียนมีถุงผักสด ผลไม้ ของแห้ง วางอย่างไว้อยู่มุมหนึ่งอย่างเป็นระเบียบ

“ตั้งแต่ออกพรรษามา อาตมาไม่ได้ไปบ้านเหนือเลย” พระพิบูลย์เปรยกับทิดสน “ทิดลอยไม่น่าอายุสั้นเลยนะ เป็นเพื่อนเกลอกันมา บวชพร้อมกันแต่สึกไปก่อน”

“ช่วงหน้าแล้งหมามันว้อ ใครเลยจะไปคาดคิด สงสารแต่พ่อแม่มัน หวังพึ่งพิงลูกชายคนเดียว กลับมาตายเร็วเยี่ยงนี้ แต่ก็อีกละนะท่าน บางคนว่าทิดลอยโดนอาถรรพ์ป่าเล่นเข้า” ทิดสนเล่า

“ไม่หรอกมั้ง จะไปโดนอาถรรพ์มันก็ต้องตายในป่าหรือไม่ก็เป็นไข้ป่าไข้ป่วงไปแล้ว เจ้าป่าผีเถื่อนมาเอาด้วยวิธีนั้นมากกว่า คงไม่ส่งหมาว้อมาขบจนเป็นโรคกลัวน้ำตายหรอก” พระพิบูลย์ค้านความเห็นของทิดสน

“หมาว้อตัวนั้นไม่รู้หายไปไหนแล้ว ไม่มีใครเห็นมันเลย” ทิดสอนบอก

“ถ้าโดนหมาบ้ากัดให้จับหมาให้ได้แล้วขังมัน ถ้าภายในเจ็ดวันมันตายให้ตัดหัวหมาส่งสุขาภิบาลตรวจว่ามีเชื้อบ้าไหม” อาตมาพูดให้ความรู้ “ตอนที่โดนกัด รีบไปอนามัยฉีดรักษา ก็อาจจะหาย”

“มันไม่ใคร่หาหมอครับท่าน เอารองเท้าแตะตบปากแผล กินหยูกยากลางบ้าน จนอาการกำเริบ พาไปหมอที่โรงหมอ เสียดายไปช้า รักษาไม่ทันการแล้ว” ทิดสนเล่าอาการป่วยจนเสียชีวิตของทิดลอย หลังจากนั้นพระพิบูลย์เปลี่ยนเรื่องคุยไปเรื่องอื่น อาตมานั่งชมทิวทัศน์สองข้างทางอันเขียวครึ้มด้วยแมกไม้ซึ่งแปลกตาสำหรับคนที่เกิดในพระนคร บ้านเหนือกับบ้านใต้ห่างไกลกันและมีภูมิทัศน์แตกต่างกันมาก บ้านใต้เป็นชุมชนเมืองเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟเลยเจริญด้วยสาธารณูปโภคครบครันทั้งตลาดสด สถานีอนามัย ร้านค้า และวัดวาอาราม การสัญจรระหว่างบ้านเหนือและบ้านใต้มีเพียงทางดินแดงพอให้เดิน พอให้เกวียนแล่นซึ่งลำบากแตกต่างกันไปตามฤดูกาล หากเป็นฤดูร้อนหรือหน้าแล้งดินแห้งเดินทางสะดวกหน่อย ขี่เกวียนก็ครึ่งชั่วโมงถึงแต่ฝุ่นตลบคละคลุ้งจึงต้องรักษาความเร็วไม่ให้มากไป ส่วนฤดูฝนทางดินแดงเปลี่ยนเป็นทะเลโคลนสีแดง การไปมาหาสู่กันระหว่างบ้านเหนือบ้านใต้ทำได้แค่เดินท้าตะลุยไป หากใช้เกวียนก็เสี่ยงต่อการติดหล่ม

ทิดสนนำพระสงฆ์มาส่งถึงบ้านเหนือ ทิดโพล้งพ่อของทิดลอยจัดที่ทางใช้บ้านของทิดสนเองเป็นที่พักชั่วคราวของพระเพราะบ้านทิดสนมีความสะดวก นางนีผู้เป็นภรรยาของทิดสนไปช่วยงานครัวที่บ้านงาน ทิดจอมลูกชายคนเดียวก็อยู่บ้านงานช่วยบ้านงานเพราะทิดจอมและทิดลอยเป็นเกลอกันมาตั้งแต่เด็ก ส่วนทิดสนก็ไปๆ มาๆ ระหว่างบ้านตนเองกับบ้านงาน อย่างวันนี้ช่วยไปซื้อของทำกับข้าวและรับพระที่บ้านใต้ บ้านงานก็อยู่ห่างไป 5 หลัง บรรยากาศเลยสงบเหมาะแก่การให้พระสงฆ์ใช้พักผ่อนและจำวัด บ้านทิดสนเป็นบ้านไม้ยกพื้นสูงเลยศีรษะขนาดกลางๆ เหมือนอย่างบ้านตามชนบทและบ้านในละแวกเดียวกัน ทั้งนี้บ้านเหนือตั้งอยู่ชายป่า มีทั้งภัยจากสัตว์ป่าและโจรมาเยือนอยู่เนืองๆ จึงต้องยกบ้านให้สูงกันอันตรายที่ไม่รู้ว่าจะมาตอนไหน บนบ้านมีห้องโถงใหญ่ใช้งานอเนกประสงค์ อย่างตอนนี้ใช้เป็นที่พักผ่อนของพระสงฆ์ทั้งกลางวันและกลางคืน ถัดไปเป็นห้องสองห้องปิดเอาไว้คาดว่าเป็นห้องนอน อาตมาเลือกมุมจับจองใช้ที่พักผ่อนจำวัดโดยการวางย่ามสัมภาระ สักครู่ทิดสนนำกระบอกน้ำใส่น้ำยาอุทัยพร้อมแก้วน้ำมาประเคนถวาย อาตมาหยิบหนังสือภาษาอังกฤษจากย่ามขึ้นมาอ่าน หนังสือเล่มนี้โยมพ่อส่งไปรษณีย์มาถวายจากพระนครจนง่วงเพลียเลยเอนหลังแล้วเคลิ้มหลับไป เมื่ออยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่นอาตมาเห็นภาพภายในบ้านหลังนี้ มีพระสงฆ์ที่ด้วยกันเอนหลังพักผ่อนบ้าง นั่งพูดคุยกันเบาๆ พระพิบูลย์นั่งคุยกับฆราวาสหนุ่มคนหนึ่ง มีหญิงสาวนางหนึ่งเดินขึ้นเรือนมา รูปร่างหล่อนผอมบาง ผมยาวประบ่าสวมเสื้อแขนกระบอกสีชมพูอ่อนนุ่งผ้าซิ่นสีชมพูบานเย็น หล่อนย่อตัวลงเดิน กลิ่นกำจายมาจากตัวของหญิงสาวหอมฟุ้งแปลกๆ หญิงสาวเปิดประตูห้องแล้วเข้าไป อาตมาตกใจตื่นขณะที่ยังได้ยินเสียงประตูห้องหับปิดอยู่เลย มีผู้หญิงขึ้นเรือนมาหรือ เป็นความจริงหรือไม่ ทุกอย่างที่อาตมามองเห็นเมื่อลืมตาขึ้นไม่ต่างจากในความฝันเลย พระสงฆ์บางรูปเอนหลังหลับสบาย บางรูปนั่งคุยสนทนากัน ยิ่งแล้วใหญ่พระพิบูลย์นั่งคุยกับฆราวาสหนุ่มนั้นจริงๆ

“ตื่นแล้วหรือท่านอินทร์ นี่ทิดจอมเจ้าของบ้านหลังนี้” พระพิบูลย์แนะนำทิดจอมให้อาตมารู้จัก

“นมัสการครับท่าน” ทิดจอมยกมือไหว้

“เจริญพรทิดจอม”

“ท่านตื่นแล้วไปล้างหน้าล้างตาเสียเถิด มีโอ่งน้ำอยู่ที่ชานหลังบ้าน” พระพิบูลย์แนะ

อาตมาลุกขึ้นเดินไปยังหลังบ้านซึ่งผ่านห้องที่เห็นหญิงสาวเข้าไป อาตมาแอบสำรวจ น่าฉงนที่ห้องนั้นลั่นดานคล้องกุญแจไว้เสมือนห้องที่ปิดตายไม่อาจจะมีใครเข้าไปได้ อาตมาเดินผ่านไปล้างหน้าล้างตา ลูบเนื้อลูบตัวให้คลายร้อนแล้วเก็บความสงสัยเอาไว้ ว่ามันคือความฝันหรือความจริง แล้วอะไรกันที่เป็นเหตุให้อาตมาเห็นอย่างชัดแจ้งเช่นนั้น

 


[1] พระนวกะ หมายถึง พระภิกษุผู้บวชใหม่ พรรษาตั้งแต่ ๑ – ๕ โดย ๑ พรรษา เท่ากับ ๓ เดือน (ในที่นี้จะนับจากวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือช่วงระยะเวลาเข้าพรรษาถึงออกพรรษา) เพื่อง่ายแก่การเข้าใจ ผ่านช่วงการเข้าพรรษามาแล้วกี่ครั้ง ก็จะเท่ากับอายุพรรษา