รวมเรื่องสั้นสยองขวัญ ถวิลหาอดีต คิดถึงปัจจุบัน หลอนไปในอนาคต เพราะความตายมิใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสยองขวัญ

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) - เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนแรก) โดย ท่าเพชร @Plotteller | พล็อตเทลเลอร์

ลึกลับ,เรื่องสั้น,ระทึกขวัญ,ดราม่า,ย้อนยุค,ผึ,สยองขวัญ,ผี,ดราม่า,ลึกลับ,ย้อนยุค,ชนบท,วัด,เรื่องเล่า,plotteller, ploteller, plotteler,พล็อตเทลเลอร์, แอพแพนด้าแดง, แพนด้าแดง, พล็อตเทลเลอร์, รี้ดอะไร้ต์,รีดอะไรท์,รี้ดอะไรท์,รี้ดอะไร, tunwalai , ธัญวลัย, dek-d, เด็กดี, นิยายเด็กดี ,นิยายออนไลน์,อ่านนิยาย,นิยาย,อ่านนิยายออนไลน์,นักเขียน,นักอ่าน,งานเขียน,บทความ,เรื่องสั้น,ฟิค,แต่งฟิค,แต่งนิยาย

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club)

หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง

ลึกลับ,เรื่องสั้น,ระทึกขวัญ,ดราม่า,ย้อนยุค

แท็คที่เกี่ยวข้อง

ผึ,สยองขวัญ,ผี,ดราม่า,ลึกลับ,ย้อนยุค,ชนบท,วัด,เรื่องเล่า

รายละเอียด

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club)  โดย ท่าเพชร @Plotteller | พล็อตเทลเลอร์

รวมเรื่องสั้นสยองขวัญ ถวิลหาอดีต คิดถึงปัจจุบัน หลอนไปในอนาคต เพราะความตายมิใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสยองขวัญ

ผู้แต่ง

ท่าเพชร

เรื่องย่อ

ผีมีจริงหรือไม่?

          คนเราตายแล้วไปไหน?

            สโมสรหลังเมรุ(Cemetery Club) มีจุดกำเนิดจากการได้รับแรงบันดาลใจจากได้ฟังเรื่องผี เรื่องวิญญาณ ทว่าจุดเริ่มต้นที่แท้จริงเกิดจากพระภิกษุกลุ่มหนึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องเร้นลับทั้งประสบพบเจอเอง ได้ยินได้ฟังมาในระหว่างรอสวดมาติกาบังสุกุลศพในช่วงบ่ายและระหว่างรอสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ในงานพิธีศพ บางคนอาจจะมองว่าการฟัง การอ่าน การชมเรื่องผีเป็นเพียงแค่ความบันเทิงเท่านั้น สำหรับผมเรื่องผีเป็นเรื่องที่มีเสน่ห์ชวนน่าหลงใหล มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เราอยากจะรู้ว่าประเทศนั้นประเทศนี้มีความเชื่อค่านิยม วัฒนธรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ตัวตนของประเทศนั้นๆ ผ่านการศึกษาเรื่องผี ผ่านคติความเชื่อในโลกหลังความตายได้ เรื่องผีบางเรื่องมีคติสอนใจซ่อนอยู่ มนุษย์ที่ตายไปแล้วไปสู่ภพภูมิที่ตนเองควรไป ยังวนเวียนอยู่กับมนุษย์เพราะความต้องการของเขา เธอทั้งหลายยังไม่บรรลุ ไม่ว่าจะเป็นการทวงความยุติธรรมให้แก่ตน การสั่งเสียอำลาคนที่เรารัก การใช้ตนเองเป็นธรรมทาน หรือแม้กระทั่งเป็นประจักษ์พยานในการแสดงผลของการทำความดีและผลของการทำชั่ว เรื่องผีบางเรื่องสะท้อนสภาพสังคมในแต่ละยุคอย่างเรื่อง นางนวล สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นสามัญชนคนธรรมดา แม้จะมีการเลิกทาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ผู้คนมากมายก็ยังคงตกเป็นทาสของอำนาจเงิน อย่าง ซ่องเจ๊เนาและซุ้มยาดองยายนี สะท้อนสภาพบ้านเมืองของอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 

สารบัญ

สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 1 ไปสวดศพ(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 1 ไปสวดศพ(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 2 วิวาห์ผี,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 3 วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 3 วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 4 หอปรารถนาดี,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 5 โรงเรียนสยองขวัญ,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 6 ซ่องเจ๊เนา(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 6 ซ่องเจ๊เนา(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนที่ 1),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนที่ 2),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนที่ 3),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 7 นางนวล(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 8 ไปหาดใหญ่คราวนั้นฉันยังจดจำ,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 9 โค้งเขาท่าเพชร,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 10 อย่านึกถึงฉัน,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 11 รวมเรื่องเล่าในโรงพยาบาล,สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนที่ 1),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนที่ 2),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนที่ 3),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 12 เพื่อนตายถ่ายแทนชีวาอาตม์(ตอนจบ),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนแรก),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนที่ 2),สโมสรหลังเมรุ (The Cemetery Club) -เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนที่ 3)

เนื้อหา

เรื่องที่ 13 สามเณรใจสิงห์(ตอนแรก)

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมได้ยินได้ฟังมาและมีประสบการณ์ร่วมเมื่อสมัยบวชเป็นพระในพรรษากาลพรรษาแรก ผมบวชมาได้สองเดือนเศษๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานประเพณีประจำปีของวัดก็มีกิจกรรมบรรพชาสามเณรฤดูร้อนเรียกชื่อกิจกรรมนี้ว่า สามเณรใจสิงห์ ล้อกับชื่อโครงการสามเณรใจสิงห์ของหลวงพ่อพยอม กัลยาโณ ผมก็รับอาสาทำหน้าที่พระพี่เลี้ยงดูแลสามเณร หน้าที่ของพระพี่เลี้ยงมีไม่มากแต่ก็วุ่นวายเหมือนจับปูใส่กระด้ง ระยะเวลาของกิจกรรม 20 วัน ช่วงแรก 3 วัน เด็กชายประมาณ 100 กว่าชีวิตต้องมาใช้ชีวิตในวัดเรียนรู้ข้อปฏิบัติของการครองเพศสามเณร พระหัวหน้าโครงการท่านชื่อ พระอาจารย์มนูหรือที่ผมและพระสงฆ์รูปอื่นๆ เรียกว่าอาจารย์นู จะดูแลและสอนเด็กชายทุกคนที่ต้องขอเรียกว่า นาค เหมือนอย่างที่เรียกชายผู้เตรียมตัวบรรพชาอุปสมบท และมีการแบ่งนาคเป็นกลุ่มๆ ละ 10 คนมีชื่อกลุ่มเป็นชื่อของหลักธรรม โดยกลุ่มที่ผมเป็นพระพี่เลี้ยงมีชื่อว่า กลุ่มวิริยะ ช่วงนี้กิจวัตรแต่ละวันที่เกี่ยวเนื่องกับสามเณรกลุ่มวิริยะในช่วงนี้ เช้ามาพาไปรับนาคออกติดตามบิณฑบาต ผมต้องระมัดระวังเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณเพราะพาลูกชายของญาติโยมมาเสี่ยงอันตรายบนท้องถนน บิณฑบาตกลับมาส่งนาคผู้ติดตามคืนพระอาจารย์มนูให้ดูแลต่อไป พอค่ำตอนสามทุ่มต้องไปรับนาคมาส่งนอนที่ชั้นสามของหอกุฏิ มันเกิดเรื่องระทึกตั้งแต่คืนแรก นาคน้อยๆ ทั้งหลายละลายพฤติกรรมจนสนิทสนมคุ้นเคยกันเล่นหัวสนุกสนานดังสนั่นลั่นตึก จนพระสงฆ์ที่พักอยู่ชั้นสองเอ็ดตะโรจนเงียบไป ผมก็เข้าห้องพักเตรียมจำวัด

“ใครซัดขวดมาบ้านกู” ผมดีดตัวผึงตั้งใจฟังว่าเกิดอะไรขึ้น “กูถามว่าใคร”

แน่ชัดแล้วว่าเกิดเรื่องขึ้น หอกุฏิอยู่ริมกำแพงวัดฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านเรือนของชาวบ้านมีเพียงคูน้ำเล็กๆ คั่นอยู่ คงจะมีนาคน้อยๆ เล่นซุกซนไม่หลับไม่นอน ชาวบ้านฝั่งตรงกันข้ามไม่พอใจขึ้นมาเลยส่งเสียงตวาดมา

“ใครทำ บ้านกูอ้านเอเทนังเหม็ดแล้ว ชาติเปรต ปังๆ ” เสียงสบถด่าสาดเสียเทเสียเป็นภาษาท้องถิ่น เรื่องมันบานปลายไปเสียแล้วเมื่อคนบ้านนั้นมีโทสะจริตแรงกล้าถึงกับยิงปืนขู่สองนัดขึ้นมาที่ตึก เอาเป็นว่าผมอยู่ไม่สุขแล้วลงมานั่งดูเหตุการณ์ตรงศาลาหน้าตึก นาคน้อยทั้งหลายกรูกันลงมาจากตึกมายืนออกันที่หน้าตึก นาคน้อยๆ อายุไม่ถึงสิบขวบร้องไห้กระจองอแงต้องคอยปลอบขวัญปลอบโยน พระอาจารย์มนูและผู้ดูแลต้องย้ายที่นอนให้นาคน้อยทั้งหลายกลับไปนอนตึกสภาธรรมที่ใช้เป็นสถานที่อบรมธรรมะประจำวัดและใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ของสามเณรใจสิงห์ทั้งหมด ส่วนเรื่องปัญหากับชาวบ้านโมโหร้ายคนนั้นพระอาจารย์มนูและพระเถรานุเถระในวัดช่วยกันเคลียร์ปัญหาจนจบ ไม่อะไรค้างคากินแหนงแคลงใจระหว่างชาวบ้านกับชาววัดอีกต่อไป

เรื่องระทึกเสี่ยงตายผ่านพ้นไป เรื่องหลอนๆ เริ่มขึ้น ผมดูแลนาคน้อยทั้งหลายอย่างใกล้ชิด เด็กๆ ทุกคนจะมีสมุดบันทึกประจำตัวคนละ 1 เล่มไว้เพื่อบันทึกสิ่งที่พบเจอในชีวิตและหลักธรรมคำสั่งสอนในแต่ละวัน พระพี่เลี้ยงจะอ่านสมุดบันทึกของเด็กๆ นาคน้อยทั้งหลาย ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องคิดถึงบ้าน คิดถึงพ่อแม่พี่น้อง โดนเพื่อนๆ แกล้ง โดนพระอาจารย์มนูดุแล้วเสียใจ อะไรทำนองนี้ มีนาคน้อยจากกลุ่มเมตตาคนหนึ่งขอใช้ชื่อว่าเด็กชายวิน นามสมมุติแล้วกัน เขียนบันทึกเรื่องแปลกๆ ที่หลวงพี่อั๋น พระพี่เลี้ยงประจำกลุ่มเอาสมุดบันทึกของเด็กชายวินมาให้ผมอ่าน

เรามาอยู่วัด ได้เห็นอะไรแปลกๆ เราสงสัยว่ามันคืออะไรกัน ตอนกลางคืนเราเห็นคนมากมายนั่งอยู่บนต้นไม้ใหญ่ๆ มีทั้งชายหญิง เด็กคนแก่ ทุกคนมองมาที่เราและเพื่อนๆ เพียงเท่านี้ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่านี้ อย่างหน้าตึกสภาธรรมมีผู้หญิงนั่งอยู่ต้นไม้ใหญ่ เธอเป็นผู้หญิงใส่ชุดไทยสีเหลืองทองๆ มองเราแล้วยิ้มๆ ทำไมตอนกลางวันไม่เห็นคนพวกนี้นะ ถ้าถามพระอาจารย์อั๋นแล้วจะถูกตีเหมือนอย่างเราถามแม่ถึงคนแก่ผู้ชายที่มายืนมองเราตอนนอนที่บ้าน จนแม่รำคาญตีเรารึเปล่า...

“ท่านคิดอย่างไร” หลวงพี่อั๋นถาม

“หลวงพี่จะบอกผมว่า เด็กคนนี้เจอผีในวัด” ผมทบทวนและสรุปเรื่องราว

“มันก็น่านะ แต่จะพูดมากไป เด็กคนอื่นจะกลัว เพราะเดี๋ยวบวชเณรแล้วต้องพาไปเดินธุดงค์อีก วัดบางวัดที่เราไปพักค้างแรมกัน ไม่ได้มีศาลาใหญ่ๆ ไว้ให้เรานอนพัก ต้องอาศัยศาลาตั้งศพหลับนอนกัน” หลวงพี่อั๋นบอกแล้วเดินลงไปดูเด็กๆ ที่จัดแจงเข้าที่หลับที่นอนชั้นล่างของตึกสภาธรรม

หลังจากนั้น ทุกอย่างเป็นปกติไม่มีอะไรคืบหน้า เด็กชายวินยังเห็นคนมากมายอยู่บนต้นไม้ในยามราตรีอย่างเคย จนกระทั่งวันบรรพชาสามเณร นาคน้อยถูกจับปลงผมกันแต่เช้ามืด ผลัดผ้าผ่อนเป็นชุดนาคสีขาว เด็กก็คือเด็กยังเล่นซนตามประสา บุพการีนาคน้อยทั้งหลายมาร่วมพิธีถือผ้าจีวรเวียนรอบโบสถ์ เวียนรอบโบสถ์เสร็จก็ทำพิธีวันทาสีมา นาคน้อยทั้งหลายนั่งคุกเข่าต่อหน้าพัทธสีมาเป็นกลุ่มๆ กลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน ยืนพนมมือกล่าวคำวันทาสีมา

“อุกาสะ, วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง, สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง, มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ, สาธุ, อะนุโมทามิฯ” นาคน้อยกล่าวจบลงก้นั่งคุกเข่าพนมมือ “สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถะ เม ภันเตฯ อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถะ เม ภันเตฯ วันทามิ ภันเต,สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง, สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง, มัยหัง ทาตัพพัง,สาธุ, สาธุ, อะนุโมทามิฯ” นาคน้อยก้มกราบสามครั้งแล้วย้ายไปประกอบพิธีบวชที่ศาลาการเปรียญต่อไปซึ่งมติสงฆ์อนุโลมให้ใช้ประกอบพิธีสังฆกรรมได้ ศาลาการเปรียญที่กว้างขวางโอ่โถงกลับคับแคบลงไปถนัดตาเพราะคลาคล่ำไปด้วยมวลมหาชนทั้งพระสงฆ์ระดับพระเถรานุเถระทั้งท่านเจ้าคณะอำเภอ ท่านเจ้าคณะจังหวัด ท่านเจ้าคณะภาคพรั่งพร้อมด้วยผู้ติดตามทั้งพระและฆราวาส พระสงฆ์ในวัดมากมายและ ผู้ปกครองของนาคน้อยทั้งหลาย

“กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ” นาคน้อยถือดอกไม้ธูปเทียนคลานเข่ากราบบิดมารดาหรือผู้ปกครองแล้วส่งดอกไม้ธูปเทียนกราบขอขมากรรม

" กรรมหนึ่งใด ที่ข้าพเจ้าเคยผิดพลาดล่วงเกิน ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วย" พอกล่าวจบทั้งนาคน้อยทั้งพ่อนาคแม่นาคน้อยร้องไห้โฮราวกับเปิดก๊อกน้ำ และได้กลายเป็นอุปทานหมู่ทั้งศาลาการเปรียญมีเสียงร้องไห้ระงมราวกับกบเจอน้ำฝนเดือนหกร้องระงมทั่วท้องทุ่งนา จนเวลาพอนาคน้อยๆ ทั้งหลายรับผ้าจีวรจากผู้ปกครองแล้วมานั่งรวมตัวกัน มีนาคที่อายุมากที่สุดเป็นตัวแทนถวายธูปเทียนแพแด่พระมหาเถระอุปัชฌาจารย์แล้วก้มกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ แล้วนาคทั้งหลายเปล่งคำขอบวชพร้อมเพรียงกัน

“เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเยปัพพัชชัง อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะฯ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะฯ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะฯ”

“การบวช มาจากคำว่า “ปพฺพชฺชา” หรือ “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว หมายถึง การงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง การบวชจึงเป็นการละเว้นความเป็นฆราวาส ส่วนคำว่าสามเณร แปลว่า เหล่ากอแห่งสมณะ ต้องลดละเลิกกิจกรรม การละเล่นต่างๆ ที่เป็นของปุถุชนคนธรรมดา เรียนรู้พระธรรมวินัย สั่งสมบุญกุศลเป็นเสบียงบุญไว้ใช้ในภายภาคหน้า สามเณรจะได้รู้จักวัด รู้จักพระ รู้จักพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา หินธรรมดาที่ไร้คุณค่าหากได้รับการเจียระไนก็กลายเป็นเพชรพลอยมีค่า ฉันใดก็ฉันนั้น เด็กชายธรรมดาๆ คนหนึ่งหากผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรเรียนรู้พระธรรมวินัยคำสั่งสอนได้รับการขัดเกลาจักกลายเป็นคนที่มีคุณค่า คนดีมีความสุขตามอัตภาพ เอาล่ะเพื่อไม่ให้พิธีการยืดเยื้อ ต่อไปจะเป็นการบอกตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา แล้วไปครองผ้าให้เรียบร้อย” หลวงพ่อเจ้าคณะภาคผู้เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์กล่าว

มหกรรมจับปูใส่กระด้งเริ่มต้นขึ้น พระสงฆ์ทั้งหมดรวมทั้งผมต้องช่วยกันนุ่งสบงห่มจีวรให้เณรทั้งหลาย ระหว่างที่เณรน้อยรอผลัดผ้าผ่อนตามคิวทีละคนก็จับกลุ่มเล่นกันเสียงดังเอ็ดตะโรจนพระอาจารย์มนูต้องปรามเณรน้อยออกทางไมค์เล่นเอาเหนื่อยกันถ้วนทั่ว จนห่มผ้าจีวรให้เณรเสร็จก็ต่อศีล 10 เป็นอันเสร็จพิธีการเกือบเพล